top of page

HENRI CARTIER - BRESSON

ผมรู้สึกดีทุกครั้งเมื่อเห็นคนแก่คล้องกล้องไว้ที่คอ แล้วเห็นแกหยิบกล้องขึ้นมาเล็งหามุมที่ชอบ ค่อยๆ ปรับโฟกัส วัด แสง รอจังหวะให้มือนิ่งอีกหน่อยแล้วกดชัตเตอร์ เมื่อบันทึกภาพเสร็จ แกเดินไปสองสามก้าวแล้วย้อนกลับมาใหม่เล็ง ที่ซับเจ็กต์อันเดิม แต่เปลี่ยนมุมนิดหน่อยเพราะพบว่ามุมนี้ก็สวยดีเหมือนกัน จะปล่อยเลยไปก็เสียดาย เมื่อเห็นคน ชราใช้เวลาในการถ่ายภาพเพราะมันเป็นความรื่นรมย์แบบหนึ่ง ผมก็หวังว่าในเวลาที่แก่ตัวลงผมจะยังคงมีแรง บันดาลใจอยู่เสมอที่จะถ่ายภาพ แต่มีช่างภาพเจอร์นอลลิสต์ชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งผู้เป็นต้นแบบและเป็นผู้จุดประกายให้ กับช่างภาพเจอร์นอลลิสต์ทั่วโลกให้เดินไปบนเส้นทางนี้ เขาเลิกถ่ายภาพในช่วงที่เขาก้าวขึ้นไปสู่จุดสูงสุดในฐานะช่าง ภาพ เขาวางกล้องและไม่แตะมันอีกเลยเมื่อเขาอายุได้ 62 ปี เพื่อหันไปจับดินสอถ่านอันเป็นความรักแรกตั้งแต่ตอน เป็นเด็กที่มีต่อการวาดรูป



อองรี กาติเยร์ - เบรสซง (Henri Cartier-Bresson—HCB, 1908-2004) ช่า งภาพชาวฝรั่งเศส เกิดใน ครอบครัวชนชั้นกลางที่มีอันจะกิน เขาได้รับการศึกษาอย่างดีในวัยเด็ก จึงมีชีวิตค่อนข้างสุขสบาย พ่อของเขาชอบ สเกตซ์ภาพเมื่อมีเวลาว่างจากการทํางาน และลุงผู้ชอบการวาดภาพสีน้ํามันเป็นชีวิตจิตใจ HCB ในวัยเยาว์จึงซึมซับ ศิลปะแขนงนี้ไว้ในใจ ตอนเริ่มเป็นหนุ่ม เขาเข้าสู่แวดวงศิลปะโดยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคิวบิสม์และเซอร์ เรียลลิสต์ตามลําดับ แต่ในที่สุด เขาได้เลือกการถ่ายภาพเป็นเครื่องมือในการแสดงออกวิธีและมุมมองต่อการมอง โลกของเขาแต่การเข้าไปคลุกคลีอยู่กบัศิลปินในช่วงเวลานี้เป็นเสมือนหนึ่งการวางรากฐานของศิลปะให้กับการถ่าย ภาพที่ HCB เอาจริงเอาจังในเวลาต่อมา


ช่างภาพแต่ละคนมักเริ่มสนใจถ่ายภาพเมื่อได้รับแรงบันดาลใจจากช่างภาพรุ่นก่อนหน้าเขา และติดกับดักของมันจน ไมอ่ าจจะเดินจากไป HCB ก็เหมือนกัน หลังจากมีกล้อง brownie box และถ่า ยภาพเป็นงานอดิเรกโดยไม่ได้เอา จริงเอาจังเท่าไหร่นัก แต่เมื่อเขาได้เห็นภาพถ่ายของช่างภาพชาวฮังกาเรียนชื่อ Martin Munkacsi เขาจึงเริ่มถ่าย ภาพอย่างจริงจัง ตอนนั้นเขาอายุประมาณ 23 ปี HCB เล่าถึงแรงบันดาลใจที่เขาได้รับจากภาพนั้นในทํานองที่ว่า เมื่อได้เห็นภาพนั้น เขาตระหนักได้ทันทีถึงความ สามารถของการถ่ายภาพที่สามารถบันทึกความเป็นนิรันดร์เอาไว้ได้ มันเป็นภาพถ่ายภาพเดียวที่มีอิทธิพลต่อเขา จวบจนทุกวันนี้ เพราะมันแสดงถึงอารมณ์ ความสนุกสนาน และความมหัศจรรย์ของชีวิต เขาบอกว่าเขาเหมือนโดน เตะที่ก้นและถูกเร่งเร้าให้ออกไปถ่ายภาพ—เขากําลังพูดถึงภาพถ่ายที่ชื่ออว่า Three Boys at Lake Tanganyika (ในบทสัมภาษณ์ครั้งหนึ่งราวๆ ปี 1994 ผู้สัมภาษณ์ได้บรรยายอพาร์ตเมนต์ของ HCB ที่ปารีสเอาไว้ว่า บนกําแพง สีขาวสะอาดไม่มีผลงานของ HCB แขวนอยู่เลยแม้แต่ภาพเดียว แต่มีรูปของ Munkacsi แขวนอยู่รวมกับภาพอื่นๆ อีกสามสี่ภาพ)


ผมไม่เคยเห็นภาพนี้เหมือนกันแต่เขาบรรยายไว้ว่ามันเป็นภาพถ่ายซิลลูเอตต์ของเด็กชาวแอฟริกันสามคนที่กำลังวิ่ง เล่นกระโดดน้ํากันอย่างสนุกสนาน ผมอยากจะเห็นผลงานของ Munkacsi เหมือนกัน เพราะช่างภาพคนนี้เป็นช่าง ภาพโปรดคนหนึ่งของ Richard Avedon ด้วย ไม่ช้าไม่นานต่อมา เมื่อเขาได้กล้องไลก้าติดเลนส์ 50 มิลลิเมตรมา ฝึกถ่ายภาพสตรีทโฟโต้ (Street Photography) ด้วยประสิทธิภาพของกล้องที่เบาและคล่องตัว ช่างภาพขี้อายจึง หลงใหลการบันทึกชั่วขณะของชีวิตอย่างถอนตัวไม่ขึ้น



วันหนึ่งในปี 1932 HCB ได้ถ่ายภาพที่โด่งดังมากภาพหนึ่งที่ปารีส ชื่อ Derrière la Gare Saint-Lazare (Behind the Gare Saint-Lazare) ซึ่งกลายมาเป็นภาพที่อ้างอิงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของการตอบ สนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นของความบังเอิญ จังหวะ สายตา เครื่องมือ หัวใจ และศิลปะ หรือใช้วลีที่ว่า the decisive moment


ภาพนี้ก็เช่นกันที่ HCB เร่งเร้าและเตะก้นช่างภาพรุ่นใหม่ๆ ให้ออกเดินถ่ายภาพและค้นหา “ทาง” ของตัวเอง



หัวขโมยผู้ไร้ร่องรอย


เวลาดูภาพถ่ายที่สามารถบันทึกจังหวะที่เหมาะสม คอมโพสิชั่นที่สวยงาม และสื่อความหมาย ผมมักถามตัวเองเสมอ ว่า ช่างภาพมีระยะห่างแค่ไหนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงสามารถได้มาซึ่งภาพเหล่านั้น เขาคิดอะไรอยู่ ความบังเอิญรอ เขาหรือเขารอความบังเอิญ เขาใช้เลนส์อะไร กล้องอยู่ในมือของเขาตลอดเวลาหรืออย่างไร เพราะระยะห่างที่พอดีนั่น หมายความว่าเขาเข้าไปบันทึกภาพในลักษณะที่ไม่ถูกสังเกตและถูกกลืนไปกับสถานการณ์แวดล้อม หมายความว่า เขากับกล้องเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน และเขาใช้มันเหมือนกับดวงตาของเขา วิธีการทํางานของเขาไม่ต่างจาก พรานล่าสัตว์หรือเป็นนักฆ่าที่มีฝีมือเยี่ยมนั่นเอง (หากใครเคยดูหนังเรื่อง The Professional ของ Luc Besson การฆ่าด้วยการใช้ปืนติดกล้องบนดาดฟ้าตึกกับการฆ่าด้วยมีด มันใช้ทักษะและความสามารถต่างกัน) แต่ HCB บอกว่าการเป็นช่างภาพก็เหมือนเป็นหัวขโมย โดยหยิบฉวยวินาทีของชีวิตโดยไม่มีใครสังเกตเห็น โดยสัญชาตญาณ และไม่ทิ้งร่อยรอยใดๆ ไว้ เขาบอกว่าช่างภาพต้องฝีเท้าเบาแต่มีสายตาที่คมกริบ ต้องเข้าใกล้ซับเจ็กต์ด้วยฝีเท้าของ หมาป่า แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นเพียงวัตถุ เปรียบเหมือนกับว่าต้องไม่ทําให้น้ํากระเพื่อมก่อนตกปลาฉันใดก็ฉันนั้น



Rémond Dépardon ช่างภาพเจอร์นอลลิสต์ชาวฝรั่งเศสเล่าให้ฟังว่า ในช่วงปี 1970 ที่เขาเริ่มทํางานใหม่ๆ เขา ต้องไปถ่ายรูปงานศพของนายพลชาร์ล เดอ โกลล์ ที่อาเวอนูชองป์ เซลิเซย์ ท่ามกลางฝูงชนและสื่อมวลชนมากมาย เขาจึงเลือกที่จะยืนอยู่ในระยะไกลและใช้เลนส์เทเลโฟโต้เพื่อหวังจะได้ภาพในระยะใกล้ ตอนนั้นเขาพบกับ HCB พอดี และช่างภาพรุ่นพี่คนนี้ก็แนะนํา Dépardon ว่า ถ้านายถ่ายภาพด้วยวิธีนี้ มันไม่มีประโยชน์อะไร และภาพของนายก็ จะไม่ถูกจดจํา พูดจบ HCB ก็เดินหายไปในฝูงชนพร้อมกับกล้องไลก้าติดเลนส์ 50 มิลลิเมตร


การได้พบเจอเครื่องมือคือกล้องและเลนส์ที่เหมาะสมกับการมองโลกของตัวเอง ถือได้ว่าเป็นการได้พรประการหนึ่ง บางคนชอบเลนส์ซูม เพราะสามารถจัดการกับสถานการณ์ได้ค่อนข้างครอบคลุมทั้งระยะใกล้ ไกล บางคนชอบเลนส์ เดี่ยว เพราะถ้าเกิดความคุ้นชินก็สามารถกะระยะได้ด้วยตาเปล่า ก่อนจะหยิบกล้องขึ้นมาถ่ายได้อย่างรวดเร็ว เพื่อน ช่างภาพบางคนของผมชอบเลนส์ 24 มิลลิเมตร เขาบอกว่ามันกว้างพอดีและไม่ทําให้เกิดการบิดเบือนของภาพมาก เกินไป เหมาะจะบันทึกข้อมูลได้ครบถ้วน บางคนชอบเลนส์ 28 มิลลิเมตร ส่วนช่างภาพที่ผมชอบคนหนึ่งคือ วิลลี่ โร นิส ชอบเลนส์ 28 มิลลิเมตร เหมือนกัน ส่วน HCB ชอบเลนส์ 50 มิลลิเมตร เพราะเขาบอกว่ามันใกล้เคียงกับระยะ การมองของคน และมันบิดเบือนสิ่งที่เขาเห็นน้อยที่สุด ในทางเทคนิคมันก็เป็นอย่างนั้น แต่บางคนชอบมองแบบ เจาะจง บางคนชอบมองกว้างๆ ดังนั้นมันจึงขึ้นอยู่กับการมองโลกของแต่ละคน


เทคนิคการถ่ายภาพนอกจากนั้นแล้ว HCB ไม่ใช้แฟรช เพราะมันทําให้เหตุการณ์ที่กําลังดําเนินอยู่สะดุดกับแสงวาบ และมันเหมือนกับเป็นการคุกคามที่หยาบคายไร้มารยาท เมื่อจะต้องเลือกภาพเพื่อลงพิมพ์ เขาไม่ครอปภาพ และยิ่ง ไม่อนุญาตให้ใครหน้าไหนทําแบบนั้น เพราะในขณะกดชัตเตอร์ เขาคิดว่ามันเป็นความสมบูรณ์ของการทํางานในขณะ นั้นโดยช่างภาพ ดังนั้นควรเคารพชิ้นงานของผู้สร้างงานนั้นๆ


ผมคิดว่านักเขียนก็คงไม่พอใจเมื่อมีใครตัดบางประโยคออกไปจากงานเขียนของเขาพอๆ กัน การทํางานและการมอง โลกของ HCB นั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นเลิศในด้านทักษะ จังหวะ สุนทรียศาสตร์ และการเป็นประจักษ์พยานต่อ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้คนที่รู้จัก HCB ต่างบอกว่า กล้องกลายเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกาย และมันคือดวงตาที่สาม ของเขา เพราะมันไม่เคยห่างจากมือของเขา และเขามักจะเอามันไปด้วยตลอดเวลาแม้แต่ตอนไปกินเหล้าในบาร์


ด้วยวิธีการใช้ชีวิตและทํางานแบบนี้เองที่ทําให้ HCB พร้อมอยู่ตลอดเวลาที่จะบันทึกความบังเอิญ โดยไม่ปล่อยให้ วินาทีแห่งโชคคลาดสายตาและหลุดมือเขาไป หากวิลลี่ โรนิส ถ่ายภาพด้วยวิธีการเกี่ยวเหยื่อตกปลา วิธีการของอ องรี กาติเยร์ - เบรสซง ก็คงไม่ต่างจากการดวลปืนของคาวบอยตะวันตก Pierre Assouline นักข่าวที่เคยสัมภาษณ์ HCB หลายครั้งหลายหนและเขียนหนังสือชีวประวัติของช่างภาพผู้นี้เคยบอกไว้ว่า หากจะมีแกลอรีสักแห่งที่แสดง งานของ HCB มันคงไม่ใช่เป็นแกลอรีแสดงภาพถ่าย แต่เป็นแกลอรีที่แสดงผลงานของโชคและการนัดพบกับความ บังเอิญ




(1944) Zen, Archery, Photography


หากภาพถ่ายของ Munkacsi เป็นการปลุกความเป็นช่างภาพในตัวของ HCB ให้ตื่นขึ้น ปรัชญาเซนและวิธีการฝึก ยิงธนูของชาวญี่ปุ่นก็เป็นเสมือนแสงสว่างที่ชี้นําให้เขาค้นพบเส้นทางของตัวเอง ก่อนหน้าที่เขาจะได้อ่านหนังสือเกี่ยว กับปรัชญาเซนและการยิงธนู ซึ่งเขียนโดย Eugen Herrigel นักปรัชญาชาวเยอรมันที่ศึกษาปรัชญาตะวันออก เขา มุ่งมั่นอยู่แต่ประเด็นเรื่องเทคนิคในการถ่ายภาพ ความเร็ว และความแม่นยําในการกดชัตเตอร์ที่ตอบสนองสายตา และประสาทสัมผัสแต่เขาพบว่าการมสีมาธิจดจ่ออยู่กับซับเจ็กตไ์ม่เพียงพอต่อการได้ภาพที่ตอ้งการภาพที่สมบูรณ์ แบบ


เมื่ออ่านพบบทสนทนาระหว่างอาจารยก์ับศิษย์ในหนงัสือเล่มที่ว่านี้ความสมบูรณ์แบบจะหามีไม่หากว่าเจ้าไม่ปลด ปล่อยตัวเอง เจ้าไม่ได้มุ่งมั่นต่อความสําเร็จ แต่กลัวว่าจะล้มเหลว ศิลปะที่แท้จริงคือกระทําโดยปราศจากการคาด หวัง ปราศจากความตั้งใจ เจ้าต้องละวางตัวตนของเจ้าเพื่อที่จะบรรลุผลสําเร็จโดยปราศจากจุดมุ่งหมาย


ชีวิตและการทาํงานของHCBเปลี่ยนไปเมื่อได้เรียนรู้มุมมองของปรัชญาพุทธซึ่งเน้นให้ใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบันลืมอดีต และไม่คาดหวังกับอนาคต ลืมการดํารงอยู่ และการไม่มีตัวตน


ถึงตรงนี้แล้วผมนึกถึงชีวิตของมูซาชิที่หลอมรวมการฝึกดาบ ศิลปะการวาดรูป และการฝึกสมาธิของเขาเอาไว้ด้วยกัน และบรรลุถึงสุดยอดวิชาดาบและศิลปะ

ผมนึกถึงพจนา จันทรสันติ ที่เคยพูดไว้ครั้งหนึ่งทํานองที่ว่า การเดิน การถ่ายภาพ การวาดรูป หรืออะไรอื่นๆ ก็เป็น วิถีทางให้คนคนหนึ่งบรรลุธรรมได้ และเช่นเดียวกัน มันเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตและการถ่ายภาพของ HCB


The Decisive Moment


ปี 1952 หนังสือรวมผลงานภาพชื่อ Image à la Sauvette ของอองรี กาติเยร์ - เบรสซง ได้รับการตีพิมพ์ ใน บทนําของหนังสือภาพเล่มนี้เขาได้เขียนถึงวิธีการและสิ่งที่เขายึดถือในการทํางานเอาไว้อย่างละเอียด จนกล่าวได้ว่า มันเป็นบทเรียนสําคัญที่ถ่ายทอดไว้ให้ช่างภาพรุ่นหลัง


คําว่า Image à la Sauvette นั้นอาจแปลแบบเทียบเคียงได้ว่า Street Photography (ในภาษาฝรั่งเศส à la sauvette หมายถึงการแอบๆ ทําโดยไม่ขออนุญาต, อย่างรวดเร็วโดยไม่มีใครเห็น) ซึ่งอันที่จริงต้องให้เครดิตคน แปลเป็นภาษาอังกฤษ เพราะเขาเลือกใช้คําว่า the Decisive Moment ซึ่งเหมาะสมกับคอนเซ็ปต์ภาพถ่ายของ HCB ต่อมากลายเป็นวลีที่อธิบายงานของอองรี กาติเยร์ -เบรสซง ได้ดีที่สุด


ปรัชญาการทํางานที่ HCB เขียนอธิบายไว้ในหนังสือ ได้ยกคําพูดของคาร์ดินัล เดอ เรตซ์ (Cardinal de Retz) นักบวชชาวฝรั่งเศสที่เคยกล่าวไว้ว่า:


There is nothing in this world that does not have a decisive moment.


HCB นําเอาประโยคนี้มาเชื่อมโยงกับการทํางานถ่ายภาพของเขา HCB อธิบายวิธีคิดของเขาไว้ 6 หัวข้อคือ report, subject, composition, colour, technique และ clients และพูดถึงทัศนะของเขาเกี่ยวกับการถ่าย ภาพไว้บางประโยค เช่น


Photography is the simultaneous recognition, in a fraction of a second, of the significance of an event as well as of a precise organization of forms that give that event its proper expression.


.


To take photographs is putting one’s head, one’s eye and one’s heart on the same axis.



ภาพถ่ายของ HCB เป็นการทํางานที่ต้องอาศัยการทํางานที่ประสานสอดคล้องกันของจิตใจ สายตา ทักษะความ ชํานาญ การตอบสนองของสมองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สัญชาตญาณ สุนทรียศาสตร์ ความรู้เรื่องบริบทของสังคม การเมือง โชค ความบังเอิญ การรอคอย และเลือกที่จะบันทึกมุมมองหนึ่งๆ ของตนโดยการตัดสินใจในเศษเสี้ยวของ วินาที


ถ้าเปรียบอองรี กาติเยร์ - เบรสซง เป็นนักล่า เขาคงไม่ต่างจาก “เสือ” ที่หม่อมหลวงปริญญากร วรวรรณ เคยเขียนไว้ ในหลายโอกาส


HCB - Photojournalism


แม้ว่าโฟโต้เจอนอลลิสม์จะถือกําเนิดมานานแล้ว ในสมัยสงครามกลางเมืองอเมริกา พระราชินีวิกตอเรียได้ส่ง Roger Fenton และ Matthew Brandy สองช่างภาพไปถ่ายภาพในสงครามเพื่อรายงานข่าว และในสงครามโลกครั้งที่ หนึ่ง ช่างภาพสงครามก็เกิดขึ้นมากมาย แต่การทํางานยังยากลําบาก เพราะอุปกรณ์ที่ใช้ทั้งหนักและไม่คล่องตัว ช่าง ภาพต้องแบกกล้องขนาดใหญ่พร้อมขาตั้งกล้อง และใช้ฟิล์มแผ่นที่มีความไวแสงต่ำ หรือไม่ก็กล้องขนาดกลาง (Medium Format) ที่ใช้ฟิล์ม 6×6 ทําให้การทํางานเป็นไปด้วยความยากลําบาก ไม่คล่องตัวเท่าที่ควร และไม่ได้ รับความนิยมมากนกั ต่อมาเมื่อบริษัทไลก้า (Leica) ผลิตกล้องขนาดเล็กที่มีคุณภาพสูง และใช้ฟิล์มที่มีความไวแสง บรรจุอยู่ในม้วนฟิล์ม ทําให้เกิดการปฏิวัติการถ่ายภาพ การถ่ายภาพซึ่งเป็นเหมือนงานอดิเรก กลายมาเป็นสื่อที่ เปลี่ยนโฉมหน้าการรายงานสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ครั้งสําคัญ


สําหรับช่างภาพคนหนึ่ง เมื่อได้ค้นพบแนวทางของตนเองและได้รับคําแนะนําจาก Robert Capa เพื่อนสนิทและช่าง ภาพสงครามที่ดีที่สุดคนหนึ่งว่าควรจะทํางานในด้านโฟโต้เจอร์นอลลิสม์ต่อไป โดยเก็บความปรารถนาในการทํางาน ด้านศิลปะไว้ในใจ อองรี กาติเยร์ - เบรสซง จึงเข้าร่วมขบวนของช่วงเวลาอันรุ่งเรืองของโฟโต้เจอร์นอลลิสม์


เดือนพฤษภาคม 1947 เขาได้ร่วมก่อตั้งเอเจนซี่ช่างภาพ Magnum Photos Inc. กับเพื่อนช่างภาพอีก 3 คน คือ Robert Capa, David Seymour, George Rodger เอเจนซี่แห่งนี้มีส่วนปรับเปลี่ยนมาตรฐานใหม่ของการจ้าง และลิขสิทธิ์ผลงานของช่างภาพ มันเป็นช่วงเวลาที่ HCB รายงานสถานการณ์ต่างๆ ในฐานะช่างภาพอาชีพให้กับ นิตยสารข่าวรายเดือนหลายฉบับ โดยมี Life, Paris Match และ Ce Soir (นิตยสารฝรั่งเศส) เป็นหลัก


เขาเดินทางไปรอบโลก โดยเฉพาะในเอเชียที่เขาร่อนเร่ไปตามประเทศต่างๆ นานสามปี ตั้งแต่อินเดีย อินโดนีเซีย จีน โดยเข้าไปเป็นประจักษ์พยานต่อการเปลี่ยนแปลงทางสงัคมและการเมืองครั้งประวัติศาสตร์ในภูมิภาคนี้ในอินเดีย เขาเป็นช่างภาพคนสุดท้ายที่ได้สนทนาและบันทึกภาพมหาตมะ คานธี หนึ่งชั่วโมงก่อนถูกลอบสังหาร ในจีน เขา เข้าไปมีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองและการกําเนดิ ขึ้นของสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยความเหมาะ เจาะพอดีของเหตุการณ์ประวัตศิาสตร์การปฏิวัติด้านเทคโนโลยีการถ่ายภาพโดยเฉพาะกล้องไลก้าที่มีคุณภาพดี ขนาดพอเหมาะพอดี ทําให้ง่ายต่อการทํางาน การเติบโตของสื่อนิตยสารภาพ การพัฒนาทางวิชาชีพ และช่างภาพที่ มีความสามารถเป็นเลิศจํานวนหนึ่ง โฟโต้เจอนอลลิสม์จึงได้พบกับช่วงเวลาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์การถ่ายภาพ


เผยแพร่ครั้งแรก 13 มิถุนายน 2006 / OpenOnLine

1,936 views0 comments

Recent Posts

See All
bottom of page