top of page

Inheritance - Exhibition

ปี 2020 ได้มีโอกาสไปเป็นอาสาสมัครถ่ายภาพนิ่งและฟิล์มเอสเสที่เหมืองทอง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย จากการชักชวนของเอ๋ และพี่เลิศ ได้ฟังเรื่องราวการต่อสู้ของชาวบ้านกับทุนขนาดใหญ่ ซึ่งน้อยครั้งนักที่ชาวบ้านจะมีสิทธิ์ดูแลผืนแผ่นดินและทรัพยากรของตัวเอง แม่ไหม่เล่าว่าเหมือนการเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง ไม่เห็นโอกาสแม้สักน้อยว่าจะชนะ แต่ตอนนั้นก็ต้องสู้ เพราะถ้าไม่สู้โอกาสแม้สักน้อยก็คงไม่มี แต่ในที่สุด 10 ปีผ่านไป ชาวบ้านก็ได้มีโอกาสดูแลสุขภาพ และชีวิตของตัวเอง ที่ปลอดภัยจากสารพิษและมลภาวะ นี่คงเป็นบทเรียนอีกบท และเป็นมรดกที่ชาวบ้านจะส่งมอบผืนดินสะอาด และอากาศบริสุทธิ์ให้กับคนรุ่นต่อไป


ฟิล์มเอสเส เหมืองทอง - วังสะพุง อยู่ในนิทรรศการ Inheritance ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต ระหว่าง 4 กรกฎาคม - 2 กันยายน


ขอบคุณอาจารย์นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ชวนให้นำฟิล์มเอสเสเรื่องนี้มาฉายบนจอของนิทรรศการ และช่วยดูแลการติดตั้งอย่างใกล้ชิด


ขอบคุณเริงฤทธิ์ คงเมือง สำหรับภาพถ่ายเหตุการณ์ชุมนุม และภาพชาวบ้านที่ถูกทำร้าย


ขอบคุณเอ๋ พี่เลิศ และชาวบ้านนาหนองบง

.





หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (BUG) ภูมิใจนำเสนอนิทรรศการ 3 นิทรรศการ

YOUTHOPIA THE TALE OF HUNGRY LAND INHERITANCE

นิทรรศการเปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม - 2 กันยายน 2565 หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดให้บริการระหว่างวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9:00–17:00 น.

ที่ตั้ง: ชั้น 2 อาคาร C6 (หอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ Main Campus รังสิต ปทุมธานี

ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Tel +662 407 3888 EXT: 2373 , Email: bugallery@bu.ac.th www.facebook.com/bangkokuniversitygallery/


INHERITANCE

ศิลปิน: วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร / ศุภชัย เกศการุณกุล

นิทรรศการ INHERITANCE ประกอบไปด้วยผลงานภาพเคลื่อนไหวจัดวางสองชิ้น

ผลงาน Still-life, 2016 (original) / 2022 (re-edit) โดย วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร ผลงานชุดนี้เคยจัดแสดงที่ประเทศแคนาดาเมื่อปี 2016 โดยความตั้งใจเมื่อแรกเริ่ม วันทนีย์ต้องการเผยให้เห็นสถานะของแรงงานนอกระบบที่ต้องเผชิญกับความผันแปรของสภาพอากาศ ปัจจัยเสี่ยงบนท้องถนน รวมไปถึงความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ผ่านการนำเสนอภาพตัวแทนของแรงงานที่ยืนนิ่งอยู่กลางแดดต่อเนื่องเป็นเวลา 20 นาที

มาในปี 2022 ช่วงเวลาที่คนทั่วโลกต่างเผชิญหน้ากับความยากลำบาก ทั้งโรคระบาดโควิด-19 ผลกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ไปจนถึงโครงสร้างปัญหาของการบริหารประเทศที่มีอยู่เดิม ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่กำลังโอบล้อมและโอบรัดชนชั้นแรงงานและชนชั้นกลางจนแทบไม่อาจขยับเขยื้อน การจัดแสดงในครั้งนี้ ผลงานชุดเดิมได้ถูกนำมาจัดการและปรับรูปแบบการนำเสนอใหม่อีกครั้ง เพราะสำหรับวันทนีย์แล้ว การดึงอดีตที่เคยเกิดขึ้นกลับมาครั้งนี้ไม่ได้ต้องการเพียงแค่ตั้งคำถามกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชนชั้นแรงงานทั้งหลาย แต่ต้องการให้งานชุดนี้เป็นสื่อกลางส่งความระลึกถึงไปยังผู้ที่เคยพบ ซึ่งเธอได้แต่หวังว่าพวกเขาจะอยู่ดีและสบายดี


ผลงานของวันทนีย์มักจะวางอยู่บนฐานการนำเสนอมุ่งประเด็นทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นมุมมองเชิงวิพากษ์ตั้งคำถามในเรื่องความหมายของชีวิต โดยแต่ละโครงการจะถูกนำเสนอในรูปแบบสื่อที่หลากหลาย เช่น วิดีโอ เสียง ประติมากรรม และการจัดวาง เชื่อมโยงให้เห็นความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมและเศรษฐกิจและการตกเป็นเครื่องมือทางอุดมการณ์ของรัฐ ผลงานเหล่านี้คือการตรวจสอบความไม่ปกติที่กำลังปรากฏในสังคม ที่ผ่านมาวันทนีย์มีการจัดแสดงผลงาน อาทิ Galeri Nasional, จาการ์ตา, อินโดนีเซีย, Museo MARCO, Santiago, Argentina, พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยใหม่เอี่ยม, เชียงใหม่, UP Vargas Museum, มะนิลา, ฟิลิปปินส์, National Gallery สิงคโปร์, Kyoto Art Center, เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น


ผลงาน เหมืองทอง –วังสะพุง , 2020 โดย ศุภชัย เกศการุณกุล

“..เมื่อเดินเข้าไปในโรงงานถลุงแร่ที่ถูกทิ้งร้าง ผมรู้สึกเหมือนอยู่ใน No Man’s Land ร่องรอยของกิจกรรมถลุงแร่ทองคำยังคงอยู่ ในรั้วโรงงานมีกองสินแร่ขนาดใหญ่กองไว้เหมือนภูเขาลูกย่อมๆ เครื่องจักรขนาดใหญ่มีสนิมเกรอะกรัง ถังเก็บสารเคมีถูกกองสุมไว้เป็นกองพะเนิน ในถังขนาดมหึมามีใบพัดขนาดใหญ่มีน้ำขุ่นข้นสีดำชวนให้นึกถึงสารพิษที่อาจทำให้ตายได้ในเวลาไม่นานท่วมอยู่เกือบครึ่ง เดินไปตามทางเหล็กสูงราวตึกสามชั้น ไต่ไปตามบันได้มองดูซากของโรงงานที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของแหล่งกำเนิดสารพิษหลังจากบดหินจากภูเขาทั้งลูกให้กลายเป็นฝุ่นผงและสกัดเอาแร่ราคาแพงไปแล้ว

10 ปีที่ชาวบ้านต่อสู้ด้วยกฎหมาย ผ่านการถูกข่มขู่คุกคาม

10 ปีที่ในที่สุดความยุติธรรมก็มาถึงเสียที

พร้อมๆ กับสิ่งแวดล้อมที่ต้องฟื้นฟูและชีวิตที่ดีจะกลับคืนมา?..”


ศุภชัย เกศการุณกุล เรียนภาพยนตร์แต่ทำงานภาพนิ่งมาตั้งแต่แรกเพราะชอบทำงานคนเดียวหรือกับคนกลุ่มเล็กๆ เขาทำงานพอร์ทเทรทเป็นหลักจากการทำงานนิตยสาร สนใจความเป็นมนุษย์และเล่าผ่านภาพนิ่ง ส่วนใหญ่เป็นงานฟิล์มขาวดำ

ศุภชัยชอบทำงาน on location เพราะเชื่อว่าสถานที่เป็นสิ่งสะท้อนบุคลิกและเรื่องราวของแต่ละคน ต่อมาเขียนความเรียงและสัมภาษณ์เพื่อเล่าเรื่องที่ภาพถ่ายทำไม่ได้ และในเวลาต่อมาเขาเริ่มทำทำสารคดีภาพเคลื่อนไหวเพราะอยากได้ยินน้ำเสียงของผู้คน

ปัจจุบันศุภชัยยังคงทำงานตามความอยากรู้อยากเห็นผ่านภาพนิ่ง ความเรียง และภาพเคลื่อนไหว บนฐานความสนใจในความเป็นไปของชีวิตที่หลากหลาย

………………………………………………………….......




INHERITANCE

Artists: Wantanee Siripattananuntakul / Supachai Ketkaroonkul)

INHERITANCE consists of 2 moving image installations.


“Still-life”, 2016 (original) / 2022 (re-edit) by Wantanee Siripattananuntakul In 2016 Wantanee presented this work in Canada. From the beginning, Wantanee wanted to reveal the state of informal workers facing climate volatility and road risk factors, including economic instability through the representative images of workers who stood still under the sun for 20 minutes.

Until 2022, people are facing hardships such as the Covid-19 epidemic, the consequences of the war between Russia and Ukraine, and the social structural problem of the country’s administration. All these issues envelop the working and middle classes, almost immobile.


For Wantanee, retrieving the past is not merely questioning the living conditions of the working class. However, she used this work to be a medium to send a remembrance to those who had met, whom she could only wish that they were well. In this project, the original works have been reedited and the way of presenting has been modified.

Siripattananuntakul’s oeuvres are grounded on social, political, economic, and cultural issues as critical views that touch upon questions about the meaning of life. Each project often consists of different media such as videos, sound, sculptures, and installations, associating social and economic inequality and ideological state apparatus. They are executed to investigate what is at stake in our society. She has exhibited in numerous institutions: Galeri Nasional, Jakarta, Indonesia, Museo MARCO, Santiago, Argentina, MAIIAM Contemporary Art Museum, Chiang Mai, Thailand, UP Vargas Museum Philippines, National Gallery Singapore, Kyoto Art Center, Kyoto, Japan.


“Mueang Thong - Wang Saphung”, 2020 by Supachai Ketkaroonkul

“… Once entered the abandoned smelting plant, I felt I was in the no man’s land. Traces of gold extracting activities were abundant. Within the plant boundary, there were heaps of ores laying aside like small hills, rusty monstrous-look machinery and high stacks of chemical barrels. In a huge pit with a propeller, the thick black liquid remaining inside seemed to signify a quick death.

Walking along the three-storey high metal bridge and stairs, one could see the whole carcass of the plant. It was once spitting out poisons of all kinds, after ground down the whole mountain to dust and extracted the valuable minerals.

For 10 years, the villagers had been in legal battles despite being threatened.

After 10 years, finally justice is restored along with the environment to breathe new life into.

And perhaps, a good livelihood would return...”


Supachai studied film, but has always been drawn towards photography as he likes to work alone or only with a small group of people. He mainly works with portrait photography following his role as a magazine photographer; apart from that, he is interested in humanity, and he portrays this through still photos, often with black and white films.

Supachai also likes doing field work because he believes that each place reflects each person’s unique character and story. Following this interest, he had written articles and interviews to convey the stories that couldn’t be told through photography alone, and then he moved into documentary filming in order to hear the voices of people.

Currently Supachai works based on his curiosity through still images, articles, and moving images to feed his enthusiasm in discovering different ways of life.

…………………………………………………………………







72 views0 comments
bottom of page